|
|
มิเตอร์ไฟฟ้าในระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นระบบใช้แรงดันไฟฟ้าไปสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อผลักจานโลหะให้หมุน และมีแกนเชื่อมต่อ กับตัวเลขเพื่อนับหน่วยการใช้งานไฟฟ้าเมื่อนำไปติดตั้งใช้งานในอาคาร ระบบนี้ยังถือว่าป้องกันการโกงจากผู้ใช้งานหรือผู้เช่าได้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็น เพราะยังสามารถก่อกวนสนามแม่เหล็กในตัวมิเตอร์ ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบต่อการหมุนของจานโลหะได้ อีกทั้งการกลับทางเข้าออกของแรงดันไฟฟ้าก็ยังมีผลกระทบต่อจานหมุนโลหะเช่นกันด้่านเจ้าขอวอาคาร ก็ยังมีความยุ่งยากตามมา กล่าวคือ เมื่อถึงเวลาสิ้นเดือนต้องนำจำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้ามาคิดคำนวณค่าไฟ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าของหรือพนักงาน ที่ต้องเดินจดหน่วยมิเตอร์ึ่งมีห้องเช่าจำนวนมาก อาจจะเกิดจากการจดหน่วยผิดได้แน่นอนข้อนี้เป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่เจ้าของอาคารเจอบ่อยๆ แต่มิเตอร์จานหมุนก็ยังคงเป็นที่นิยมในการใช้งานอยู่ จะเป็นกลุ่มเจ้าของที่ไม่ค่อยเข้าใจระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นคนยุคเก่าก็ได้ หรือกลุ่มของลูกค้าในต่างจังหวัด ที่ต้นทุนการสร้างอาคารไม่สูงนัก |
|
ระบบมิเตอร์อ่านมิเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติ AMR (Automatic Meter Reading) |
ในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนารูปแบบการอ่านหน่วยของมิเตอร์ไฟฟ้าขึ้นมา โดยจะเปลี่ยนขั้นตอนของการอ่านหน่วยจากพนักงาน เป็นระบบการรับและส่งสัญญาณแทน หรือเรียกว่า ระบบ Automatic Meter Reading (AMR) ระบบนี้จะเป็นหน่วยการอ่านโดยตรงจากมิเตอร์ผ่านระบบสื่อสารแบบสายสัญญาณ และ แบบไร้สาย ส่งข้อมูลการใช้ไฟฟ้าเป็นรายเดือน รายวัน หรือทุกๆ 15 นาที เข้าไปเก็บไว้ยังฐานข้อมูล เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า ที่ถูกต้องแม่นยำและช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่าย |
|
การทำงานของระบบ AMR |
จะประกอบไปด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วนคือ
1.โปรแกรมการอ่านและบันทึกข้อมูล
2.โปรแกรม database
3.โปรแกรม Billing
ด้วยโปรแกรมต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น เปรียบเสมือนระบบการจัดการที่ครบวงจร กล่าวคือเราสามารถเขียนโปรแกรมให้ระบบเก็บฐานข้อมูลให้ลูกค้าหรือผู้เช่าเดินมาจองห้องพัก ย้ายเข้าอยู่ อกสัญญาเช่า พิมพ์ใบแจ้งหนี้ พิมพ์ใบเสร็จรับเงินไปจนถึงการย้ายออก ระบบ Billing แบบนี้ สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงเป็นข่้อดี ของระบบ AMR ที่สามารถ ลดขั้นตอนและความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเจ้าของอาคารหรือพนักงานได้
|
|