โหมโรงเปิดไอโฟนตัวใหม่เรียบร้อยโรงเรียนแอปเปิลไปแล้ว แบบไม่มีอะไรตื่นเต้นตูมตามเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
“ไอโฟน 5 เอส” และ “ไอโฟน 5 ซี” คือน้องใหม่ 2 รุ่นในตระกูลไอโฟน แห่งครอบครัวแอปเปิล ที่เพิ่งเปิดตัวไป และมีกำหนดจะวางตลาดให้บรรดาสาวก ไอโฟนซื้อหาไปครอบครองเป็นเจ้าของได้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนนี้เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นการวางตลาด “ตัดหน้า” “แกแล็คซี่โน้ต 3″ ของค่ายซัมซุงไปเพียง 5 วัน
ความต่างระหว่างไอโฟน 5 เอส กับ ไอโฟน 5 ซี ซึ่งถือฤกษ์แจ้งเกิดพร้อมกันเป็นครั้งแรก และถือเป็นความแปลกประหลาดในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของค่ายนี้
ไอโฟน 5 ซี มี 5 สีให้เลือกตามอัธยาศัยคือขาว-ฟ้า-เหลือง-เขียว-ชมพู ถูกกำหนดให้มีสเปก “ต่ำพิเศษ” เพื่อทุบราคาจำหน่ายให้ต่ำลงมาอยู่แค่เครื่องละ 99 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเงื่อนไขต้องผูกพันสัญญา 2 ปี แต่ถ้าไม่ประสงค์จะผูกสัญญา สามารถซื้อเครื่องเปล่าได้ในราคา 549 ดอลลาร์สหรัฐ
ไอโฟน 5 เอส มี 3 สีให้เลือกคือขาว-ดำ-ทอง ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของไอโฟน ที่วางราคาขาย ไว้เท่ารุ่นก่อนหน้าคือ เริ่มต้นจากเครื่องละ 199 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับกรณีผูกพันสัญญา 1 ปี และ 649 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับกรณีประสงค์จะซื้อเครื่องเปล่าปลอดสัญญา
ปรากฏการณ์ใหม่ของค่ายแอปเปิลที่เปิดตัวไอโฟนใหม่พร้อมกันถึง 2 รุ่น โดยเพิ่มเติมรุ่น “ลดสเปก” เพื่อหวังจะลงไปเกลือกกลั้วในปลักสงครามราคา ถูกบรรดานักวิเคราะห์หลายสำนักวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างดุเด็ดเผ็ดร้อนว่าค่าย แอปเปิลกำลัง “เสียศูนย์” และถลำตัวเข้าสู่จุดเริ่มต้นของ “ความเสื่อม” เนื่องจากเอกลักษณ์โดดเด่นที่ค่ายนี้ยึดถือมาตลอดคือคุณค่าของการสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่ซ่อนอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์ ที่ทำให้ลูกค้าเกิดความยอมรับและยินดีควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อด้วยราคาที่ แพงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ค่ายแอปเปิล ยุคหลังมรณกรรมของสตีฟ จ็อบส์ ภายใต้บังเหียนของ “ทิม คุก” ยังคงมุ่งมั่นเดินไปตามนโยบาย “การตลาดนำนวัตกรรม” ซึ่งย้อนศรสวนทางกับนโยบายยุคสตีฟ จ็อบส์ ที่เน้น “นวัตกรรมนำการตลาด” อย่างสิ้นเชิง
การเปิดตัวไอโฟนใหม่พร้อมกันถึง 2 รุ่นโดยการเติมรุ่น “โลโซ” สมทบเข้าไปกับรุ่น “ไฮโซ” ซึ่งถือเป็นรุ่นดั้งเดิม ถือเป็นการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อหวังขยายพื้นที่การกอบโกยไปเก็บเกี่ยวกลุ่มลูกค้า “ตลาดล่าง”
นอกจากนี้ ภายใต้นโยบายการตลาดนำนวัตกรรมของทิม คุก ยังเดินหน้ารุกขยายกินส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการเลือกจับมือกับค่ายเอ็นทีทีโดโคโมะ ซึ่งครองตลาดโทรคมนาคมอันดับ 1 ในญี่ปุ่น
ยิ่งไปกว่านั้นก็บุกเข้าไปกอดคอเป็นปาท่องโก๋ร่วมกับ “ไชน่าโมบายล์” ซึ่งเป็นเจ้าพ่ออันดับ 1 ในตลาดโทรคมนาคมของจีน เพื่อลุยตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศจีนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
การขับเคลื่อนแอปเปิล ให้เดินไปตามนโยบายการตลาดนำนวัตกรรมของทิม คุก ที่สวนทางกับสตีฟ จ็อบส์ ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่แจ้งเกิด “มินิไอแพด” ตามมาด้วย “ไอโฟน 5 ซี” ยังจะเดินต่อไปด้วย “ไอแพด” ตัวใหม่ที่เตรียมจะเปิดตัวปล่อยของก่อนสิ้นปีนี้ เพียงเพราะ “ตาร้อน” ที่เห็น “กูเกิล” และ “ซัมซุง” รวยวันรวยคืน จากการที่มูลค่าตลาดเฉียด 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐไปกระจุกตัวอยู่ที่นั่น
ดูท่าคุณค่า และความขลังของค่ายแอปเปิลนับวันจะเสื่อมถอยลงทุกที
(2036)
เขาเรียกว่าเรียนรู้จากปฏิบัติจริง ไม่ใช่เสื่อมถอย นวัตกรรม
ผสมความคุ้มค่า ไม่มองข้ามตลาดระดับกลางบน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีพลัง
และเป็นการปิดช่องว่างเดิม ที่คู่แข่งคาบไปแดก และทำท่าจะรุกขึ้นบนอีกต่างหาก
จึงต้องรุกกลับอย่างตรงเป้า ได้ผลเห็นทันตา ยอดซัมซุงก็ตกแน่นอน หรือไม่ก็ต้อง
ลดแลกแจกแถมจนเหลือกำไรแต่น้อย..เพราะตอนนี้ ซัมซุง เดินตามรอยแอปเปิ้ลทุก
มิติ เปิดช็อบกว่า 500 แห่งแบบ Apple แต่งร้านก็แบบเดียวกัน สีเดียวกัน แต่คนละแบรนด์
ผมว่าตัวใหม่เมืองไทย ขายดีแน่ๆ อย่างน้อย 3 ล้านเครื่องในสิ้นปีนี้ไม่น่าพลาด
หุ้นแอปเปิ้ลเลยพุ่งครับ..แต่ควรคืนกำไรให้กับสังคมไทยมั่งนะ..เพราะเวลาขาย online ภาษี
มูลค่าเพิ่มก็ไม่ต้องเสีย..พอขายแล้ว จ่ายค่าเน็ตกันทุกเดือน ค่าโทรศัพท์อีก ตลอดชาติ