9 เสาหลัก Benchmarking สู่ความเป็นเลิศองค์กรธุรกิจ

จริงอยู่เรื่อง Benchmarking ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในสังคมปัจจุบัน แต่กลับเป็นเรื่องคุ้นชินและได้ยินมาเป็นเวลานาน แต่กระนั้นสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือ มีองค์กรจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจ และไม่สามารถนำไปปฏิบัติใช้กับองค์กรอย่างเต็มที่

ผลเช่นนี้จึงต้องมาทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า เครื่องมือที่เรียกว่า Benchmarking มีส่วนช่วยสำคัญอย่างไรต่อการพัฒนาองค์กรทั่วโลก

เรื่องนี้ “บรูซ เซิลส์” ผู้เชี่ยวชาญด้าน Benchmarking มากว่า 25 ปี อธิบายเพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างชัดเจนภายในงานสัมมนา “Innovation and Benchmarking The Way Ahead” ที่จัดขึ้นโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

“บรูซ” เริ่มต้นด้วยคำจำกัดความของ Benchmarking ว่าคือเครื่องมือที่ช่วยกำหนดมาตรฐาน เพื่อนำมาปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้น รวมถึงเป็นตัวกระตุ้นให้คิดและริเริ่มสิ่งใหม่เพื่อต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรมให้กับองค์กร

“โดยเริ่มจากรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบในการบริหารจัดการไม่ว่าจะเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพในระดับกระบวนการ, ตัวชี้วัดประสิทธิภาพในระดับองค์กร, ตัวชี้วัดสำหรับการประเมินตนเอง และกรณีศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการเทียบเคียงประสิทธิภาพของตนเองกับองค์กรอื่นทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของตนเองในระดับโลก”

“หลังจากผมทำการศึกษาพบว่า Benchmarking ทั่วโลกประกอบด้วย 9 เสาหลัก ดังนี้

เสาแรก การกำหนดตัว – ชี้วัด KPI (Key Performance Indicator) ซึ่งผมคิดว่าควรมีการวัดไม่เกิน 5 ตัวชี้วัด ไม่เช่นนั้นเมื่อตัวชี้วัดมีความหลากหลายมากเกินไปอาจหาข้อสรุปไม่ได้”

เสาที่สอง กระบวนการทางนวัตกรรม

เสาที่สาม การนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศอย่างมีวิสัยทัศน์

เสาที่สี่ ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

เสาที่ห้า การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย

เสาที่หก วางกรอบในการบริหารจัดการ และการประเมินผล

เสาที่เจ็ด การลงมือปฏิบัติอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง

เสาที่แปด มีแนวคิดที่สำคัญในการลดความสูญเสีย

เสาที่เก้า จูงใจให้คนในองค์กรเล็งเห็นประโยชน์จากแนวทางนี้

ทั้ง 9 เสาหลักเราจะต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจากภายในขององค์กรเสียก่อน หลังจากนั้นเมื่อได้ผลลัพธ์แล้วให้นำผลลัพธ์ไปเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น และท้ายที่สุดคือการพัฒนาที่ก้าวหน้าขององค์กรเราที่ได้เปรียบที่สุด

“ผมบอกได้เลยว่า หากมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยแนวคิดของ Benchmarking จะสามารถทำให้ผลิตภาพขององค์กรโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% อย่างแน่นอน”

นอกจากนี้ “บรูซ” ยังทำการศึกษาแนวโน้ม Benchmarking ในปี 2573 หรืออีก 17 ปีข้างหน้า พบว่าแนวคิดนี้จะถูกหยิบยกมาใช้กันในวงกว้างทั่วโลกมากขึ้น

“โดยจะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อยกระดับผลิตภาพขององค์กร และมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม ฉะนั้น องค์กรที่ต้องการจะมุ่งสู่การเพิ่มผลิตภาพที่ดีในอนาคตจะต้องผสานแนวทางการสร้างนวัตกรรมประกอบเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้องค์กรเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ”

“จริง ๆ แล้วแนวคิด Benchmarking ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องยึดหลักด้วยความเข้าใจในองค์กรว่าจะมุ่งพัฒนาไปในเรื่องใด ที่สำคัญการเทียบวัดจากองค์กรภายนอกจะต้องวัดในลักษณะของวิธีการ และแนวทางปฏิบัติจะชัดเจน

ที่สุด ขณะเดียวกัน จะต้องรู้ว่าหลังจากได้ผลลัพธ์แล้วเราจะนำไปพัฒนาและต่อยอดอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กร”

นี่คือวิธีการเดิมในความเข้าใจใหม่ของ Benchmarking เพื่อองค์กรที่ดีกว่า

ที่มาของบทความ

(4994)

One thought on “9 เสาหลัก Benchmarking สู่ความเป็นเลิศองค์กรธุรกิจ

  1. ดีมากครับ ผมอ่านแล้วเข้าใจดีและสรุปได้กระชับ สามารถนำไปดำเนินการ
    ได้จริง และการทำงานในยุคต่อไป ผมเชื่อว่าผู้ที่ทำธุรกิจเยอะเกินไปจะขาดความโดดเด่น
    และอาจจะเจอปัญหาใหญ่ๆที่แก้ไม่ทันกาล เช่นเดี๋ยวนี้ ปตท ทำหลายอย่างมาก จนเริ่มมีจุดอ่อน ดูไม่ทั่ว มาทำค้าปลีก ขายกาแฟ ขายแก๊ส ขายน้ำมัน ขายน้ำมันเครื่อง ทำโรงกลั่น
    ขุดเจาะน้ำมัน แก๊ส ปิโตเคมี ผลิตเม็ดพลาสติก และอีกสารพัดอย่าง กำลังจะทำมหาวิทยาลัย การขนส่งน้ำมันทางท่อ ทำซอฟต์แวร์ ๆๆๆๆๆๆ