AEC ในความรู้สึกของคนไทย

ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2015 หรืออีกแค่ 3 ปีข้างหน้าเท่านั้น AEC มีเป้าหมายสำคัญคือ การที่จะให้ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกร่วมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีเสรีภาพในการลงทุนระหว่างประเทศ และก่อเกิดการกระจายตัวของแรงงานมีฝีมือในระหว่าง 10 ประเทศสมาชิก AEC ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่างต่อทั้ง 10 ประเทศสมาชิกในอนาคต คนไทยบางคนอาจกังวลในผลกระทบที่จะตามมาจากการเกิดขึ้นของ AEC หรืออาจตีความเป้าหมายของ AEC คลาดเคลื่อนออกไปจากความเป็นจริง อาทิ บางคนกลัวว่า AEC จะทำให้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว

บาง คนกลัวโดนแย่งงานโดยแรงงานต่างด้าว บางคนกลัวว่าการรวมตัว AEC จะล้มเหลวแบบสหภาพยุโรป (EU) ขณะที่บางคนก็ยังไม่เข้าใจเลยว่า AEC คืออะไร

ในความเป็นจริงแล้วนั้น ผู้ที่กังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเข้าใจผิด เนื่อง จากการเกิดขึ้นของ AEC จะไม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะการเปลี่ยนแปลงใน AEC จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในแต่ละอย่างของอาเซียนจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมี ฉันทามติร่วมกันจากชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศเสียก่อน ซึ่งแต่ละชาติสมาชิกก็จะต้องตรวจสอบว่ามีกฎหมายของชาติตนเองจำกัดไว้หรือไม่ ในแต่ละเรื่อง ทำให้การดำเนินการใด ๆ ระหว่างสมาชิก AEC ค่อนข้างล่าช้า และไม่ได้รวดเร็วแบบ EU ที่มีสภาพิเศษ Supra-National Authority ที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทนชาติสมาชิกทั้งหมด

นอกจากนั้น การที่ AEC จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเสรี ทำให้คนไทยบางส่วนกลัวตกงานเพราะต่างชาติเข้ามาแย่งงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเคลื่อนย้ายแรงงานนั้นจะทำได้เฉพาะ วิชาชีพ 8 สาขา ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ช่างสำรวจ และท่องเที่ยว (ยกเว้นมัคคุเทศก์) ภายใต้ข้อตกลงการยอมรับร่วมกัน (MRAs) เท่านั้น ในข้อตกลงระบุว่า แรงงานจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักวิชาชีพอาเซียน และผู้ที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้จะต้องผ่านการสอบความรู้และมาตรฐาน วิชาชีพที่เป็นภาษาไทย ทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยจึงยังไม่เกิดขึ้น ในทันทีเมื่อ AEC เกิดขึ้น

อีกประเด็นที่คนไทยยังเข้าใจผิด คือ การรวมตัวของ AEC ในอนาคตอาจจะประสบปัญหาเศรษฐกิจแบบที่สหภาพยุโรป (หรือ European Union : EU) เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ โครงสร้างของ AEC แตกต่างจาก EU มาก เพราะ EU ค่อนข้างบังคับสมาชิก โดยให้นโยบายทางด้านเศรษฐกิจและการค้าของประเทศสมาชิกเหมือนกันทั้งหมด ในขณะที่ AEC อาศัยความร่วมมือเป็นหลัก และสมาชิกจะไม่มีการบังคับเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ ทั้ง 10 ประเทศ

สมาชิก AEC จึงมีอิสระที่จะกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจเอง นอกจากนั้น AEC เป็นแต่เพียงตลาดสำหรับกระจายแรงงานมีฝีมือเสรีเท่านั้น ส่วน EU นั้นแรงงานทุกประเภทสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีทั้งหมด นอกจากนั้น สกุลเงินที่ใช้ใน EU กับ AEC ยังมีความแตกต่างกันออกไป สำหรับ EU นั้นประเทศสมาชิกต้องใช้เงินสกุลเดียวกัน

แต่สำหรับ AEC ประเทศสมาชิกยังคงไว้ซึ่งสกุลเงินในประเทศตน ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่า AEC มีความเป็นอิสระมากกว่า EU หากสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าประเทศสมาชิกที่เหลือจะไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเท่ากับที่ประเทศ สมาชิกในกลุ่ม EU จะมีต่อกัน

ล่าสุดมีผลรายงานยืนยันการตีความหรือ การเข้าใจผิดในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับ AEC ของคนไทย โดยตามผลรายงานพบว่า มากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.28 ของกลุ่มคนไทยตัวอย่างที่ไปสำรวจมา ยังไม่ทราบว่า AEC ย่อมาจากอะไร และมีความหมายว่าอย่างไร ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวยังได้แสดงให้เห็นอีกว่า ร้อยละ 30.15 หรือประมาณเกือบ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างที่ไปสำรวจมา ยังไม่มีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ AEC

นอก จากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 86.25 ระบุว่า AEC ในความเข้าใจของตนเองคือ การที่ประชาชนในประเทศเดินทางไปลงทุน ดำเนินธุรกิจ หางานทำ หรือศึกษาต่อในประเทศสมาชิกในกลุ่มได้อย่างเสรี ขณะที่ร้อยละ 83.42 ของกลุ่มตัวอย่าง ระบุว่า AEC ในความเข้าใจของตนคือ การที่รัฐบาลของประเทศในกลุ่มได้ต่อรองผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และอีกร้อยละ 81.15 มองว่า AEC กับการที่รัฐบาลของประเทศในกลุ่มได้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งความคิดดังกล่าวเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับ AEC ที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด

แม้ รัฐบาลไทยจะได้เตรียมความพร้อมทางด้านนโยบายในด้านต่าง ๆ ให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับชาติอื่น ๆ ในตลาด AEC ได้เป็นอย่างดี แต่หากประชาชนของไทยยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องกับ AEC หรือมีความกลัวที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC แล้ว แนวนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลวางแผนไว้สำหรับต้อนรับ AEC อาจสูญเปล่า เพราะประเทศไทยอาจ ไม่ประสบความสำเร็จกับ AEC ที่กำลังจะมาถึง ดังนั้น รัฐบาลควรจะทำการบ้านอย่างหนักในการเร่งให้ความรู้และพัฒนาให้คนในชาติมี ความรู้ที่ดีเกี่ยวกับ AEC เท่าที่จะเป็นไปได้ ก่อนที่ AEC จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า

ที่มาของบทความ

(889)

Comments are closed.