ท่านผู้อ่านที่มีนิสัยชอบ”ความหวือหวาท้าทายแต่ผลตอบแทนสูงคุ้มค่า”คงทราบแล้วว่าการลงทุนในหุ้น มีความเสี่ยงและมีภาระทางภาษีอากรอย่างไร
หากมีความสนใจจะลงทุนในหุ้นจริงๆ คงต้องเริ่มศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ถ้าไม่อยากให้เงินที่ตนอุตส่าห์เก็บมายาวนานสูญสลายไป
แต่ หากมีผู้อ่านบางท่าน อยากลงทุนในหุ้น แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาหรืออาจมีความรู้ในการลงทุนในหุ้นไม่เพียงพอก็ ยังคงมีทางเลือกให้นักลงทุนอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ “การลงทุนในกองทุนรวม”
“การลงทุนในกองทุนรวม” คือการรวบรวมเงินจากนักลงทุนทั่วไปของบริษัทจัดการกองทุนโดยการออกหนังสือ ชี้ชวนให้แก่นักลงทุนพิจารณาและนำเงินดังกล่าวไปลงทุนตามที่ได้ตกลงไว้โดยมี การจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์คอยดูแลควบคุมให้บริษัทจัดการกองทุนปฏิบัติตาม หนังสือชี้ชวน และจ่ายเงินชดเชยให้กับนักลงทุนหากกองทุนล้ม ซึ่ง “ผลตอบแทนจาก
การลงทุนในกองทุนรวม”นี้นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล (dividend)กำไร ส่วนต่าง (capital gain) หรือดอกเบี้ยรับ ส่วนลดรับ ซึ่งผลตอบแทนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของการบริหารโดยบริษัทจัดการกองทุนและ ผู้จัดการกองทุนว่าจะมีความสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้มากน้อย เพียงใด ดังนั้น ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนจะก่อให้เกิดภาระทางภาษีอากรแก่นักลงทุนอย่างไร นั้นผู้เขียนได้เข้าไปตรวจสอบ
ข้อกฎหมายในประมวลรัษฎากร แล้วพบว่าผลตอบแทนจาก”การลงทุนในกองทุนรวม” มีอยู่3รูปแบบ แยกพิจารณา”ภาระทางภาษีอากร”ได้ดังนี้
1.ผลตอบแทนในรูปแบบของ”กำไรส่วนต่างราคาซื้อขาย”ผลตอบแทนในส่วนนี้ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินกำไรที่ได้จากการส่วนต่างราคาซื้อขาย (เช่นเดียวกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์)
2. ผลตอบแทนในรูปแบบของ”เงินปันผล” ผลตอบแทนในรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อบริษัทจัดการกองทุน นำเงินไปลงทุนตามหนังสือชี้ชวน แล้วมีผลประกอบการที่ดีและนำกำไรสุทธิหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมา จ่ายเป็นผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุน โดยบริษัทจัดการกองทุนจะหักภาษีณที่จ่ายไว้ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกได้ว่าจะ นำเอาเงินปันผลดังกล่าวไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นๆตอนปลายปีเพื่อขอเครดิต ภาษี
เงินปันผลจำนวนดังกล่าวหรือไม่ก็ได้(เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น) หากนักลงทุนได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผล จากกองทุนที่ลงทุนไว้หลายกองทุน ซึ่งหากนักลงทุน จะนำเงินปันผลดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้เพื่อขอคืนภาษี อากรนักลงทุนจะต้องนำเงินปันผลที่ได้รับทุกๆกองทุนมายื่นแบบแสดงรายการทั้ง หมดไม่สามารถเลือกเพียงกองทุนใดกองทุนหนึ่งได้
3.ผลตอบแทนในรูปแบบ ของ”การขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ” คือผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจากกองทุนเปิดที่นักลงทุนสามารถขายคืนหน่วย ลงทุนได้ในระหว่างทางก่อนครบอายุสัญญาซึ่งกองทุนประเภทนี้จะมีการจ่ายเงิน คืนให้แก่นักลงทุนเป็นงวด ๆซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรายละเอียดสัญญาโครงการของกองทุนรวมจะ เห็นได้ว่าผลตอบแทนจากการขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัตินี้จะได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้ดังนั้นผลตอบแทนประเภทนี้จึงจะไม่ถูกหักภาษีณที่จ่ายเหมือนกับ เงินปันผล ทำให้นักลงทุนจะได้รับเงินจากการขายคืนแบบอัตโนมัตินี้เต็มจำนวน
ท่าน ผู้อ่านคงจะได้เห็นแล้วว่าวิธีการลงทุนในรูปของ”การลงทุนในกองทุนรวม”ซึ่งผล ตอบแทนจะขึ้นอยู่กับความสามารถของการบริหารโดยบริษัทจัดการกองทุนและผู้ จัดการกองทุนว่าจะมีความสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้มากน้อยเพียง ใด
แต่หากบริษัทประกอบกิจการไม่ดีมีภาวะขาดทุนเงินหรือไม่ปฏิบัติให้ เป็นไปตามหนังสือชี้ชวนก็ยังคงมีผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนเป็นผู้ควบคุม หรือชดเชยเงินคืนให้กับนักลงทุน
ดังที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า”การ ลงทุนในกองทุนรวม”จะมีผลตอบแทนอยู่ในอัตราที่สูงถึงแม้จะมีความเสี่ยงเช่น เดียวกับการลงทุนในหุ้นแต่ก็ยังได้รับความคุ้มครองจากผู้ดูแลผลประโยชน์กอง ทุน ถึงอย่างไรก็ดีเนื่องจากกองทุนมีอยู่หลายประเภท จำแนกตามการรับซื้อ และนโยบายการลงทุน ซึ่งผู้เขียนจะได้จำแนกถึงความแตกต่างให้ผู้อ่านทราบพอสังเขปก่อนตัดสินใจลง ทุน
ขอบคุณข้อมูล วารสารสรรพากร (815)