ปัญหาคอร์รัปชั่นในอาเซียน ปัญหาที่แก้ไม่ตก

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีวิสัยทัศน์รวมกัน คือ “One Vision, One Identity One Community” ซึ่งแสดงถึงความพยายามในการรวมประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศเข้าด้วยกัน และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ประเทศสมาชิกได้พยายามสร้างความร่วมมือกันในหลายด้าน และ ด้านหนึ่งที่สำคัญคือความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชั่น หรือ  Anti-Corruption Network ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญต่อการพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเป็นอย่างยิ่ง

องค์กรเพื่อความโปร่งใส หรือ Transparency Internationalได้มีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้คะแนนด้านการคอร์รัปชั่นแก่ ประเทศต่างๆทั่วโลก และมีการให้คะแนน Corruption Perception Index (CPI) หรือค่าดัชนีการรับรู้เรื่องการคอร์รัปชั่นของประชากรในประเทศซึ่งสามารถตี ความหมายอย่างง่ายๆ คือ ดัชนี CPI มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 10 โดยประเทศใดที่มีค่าดัชนีดังกล่าวสูง แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นมีระดับการรับรู้ข้อมูลการคอร์รัปชั่นของประชาชนใน ประเทศในระดับต่ำมาก เช่น ปี พ.ศ. 2555 ดัชนี CPI ของ เดนมาร์ก อยู่ที่ 9.3 หมายถึงประชาชนชาวเดนมาร์ก ได้รับข้อมูลเรื่องการคอร์รัปชั่นในระดับต่ำ กล่าวคือไม่เคยได้รับข่าวสารเรื่องการฉ้อโกงของภาครัฐเลย จึงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลของประเทศมีความโปร่งใสและถือเป็นอันดับหนึ่งของโลก

ในทางกลับกันประเทศใดที่มีค่าดัชนี CPI ต่ำ แสดงให้เห็นว่าประเทศนั้นมีระดับการรับรู้เรื่องคอร์รัปชั่นของประชาชนใน ประเทศอยู่ในระดับสูง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมประเทศนั้นเต็มไปด้วยเหล่านักการเมืองและข้า ราชการที่ฉ้อโกง โดยปีล่าสุด โซมาเลีย เป็นประเทศที่มีค่า CPI ต่ำที่สุดเพียง 1.2 เท่านั้น ขณะที่เพื่อนบ้านของเราอย่าง เมียนมาร์ อยู่ในอันดับเกือบสุดท้าย ด้วยระดับดัชนีCPI ที่ 2.1
สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น ได้ถูกจัดลำดับโดย องค์กรเพื่อความโปร่งใส แตกต่างกันไป โดย สิงคโปร์จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก ด้วยค่า CPI ที่ 9.0 ซึ่งเป็นประเทศที่สร้างชื่อให้กับกลุ่มอาเซียนมากที่สุดในแง่ของความโปร่งใส ในการบริหารบ้านเมือง

สำหรับประเทศอาเซียนอื่นๆ มีความแตกต่างในลำดับความโปร่งใส ดังนี้ มาเลเซียติดอันดับที่ 54 ด้วยค่า CPI ที่ 5.5 ไทยอันดับที่ 88 ด้วยค่า CPI ที่ 4.0 ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น เนื่องจากประเทศไทย ตกลงมากจากอันดับที่ 80 และค่า CPI ไม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีติดต่อกันมาหลายปี
ในขณะที่ฟิลิปปินส์เป็นอันดับที่ 105  ด้วยค่า CPI 3.7 อินโดนีเซียเป็นอันดับที่116  ด้วยค่า CPI ที่ 3.7 เวียดนามอันดับที่ 123  กัมพูชาอันดับที่ 157 ลาวอันดับที่ 160 และพม่าอันดับที่ 172

ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาการคอร์รัปชั่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของประเทศ และภูมิภาคเป็นอย่างยิ่ง ประเทศฟิลิปปินส์นับเป็นประเทศที่มีปัญหาการคอร์รัปชั่นรุนแรงโดยเฉพาะการ คอร์รัปชั่นของกลุ่มผู้นำประเทศในอดีตตั้งแต่ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส, โจเซฟ เอสตราด้า แม้กระทั่งนางกลอเรีย อาร์โรโย่ ที่เคยเป็นความหวังของคนฟิลิปปินส์ แต่ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชั่น เช่นกัน คอร์รัปชั่นในดินแดนตากาล๊อกเป็นบ่อนทำลายการพัฒนาเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ อย่างมาก จากประเทศที่คาดหมายว่าน่าจะพัฒนาได้เร็วที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบ ลง กลับกลายเป็นว่าฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่พัฒนาได้เชื่องช้ามากอันเนื่องมาก จากการคอร์รัปชั่นของหน่วยงานภาครัฐจำนวนมากนั่นเอง
อินโดนีเซีย ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีปัญหาการคอร์รัปชั่นเรื้อรังมาช้านานโดยเฉพาะช่วง เวลาที่รัฐบาลเผด็จการซูฮาร์โต้ ครองอำนาจยาวนานถึง 30 กว่าปี ทำให้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในอินโดนีเซียผูกโยงกับธุรกิจของคนในครอบครัวซูฮา ร์โต้ ขณะเดียวกันก็ได้สร้างวัฒนธรรมการคอร์รัปชั่นในหมู่ทหารและนักการเมือง จนทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียต้องเตรียมบวก ค่าต้นทุนใต้โต๊ะเวลาติดต่อทำธุรกิจในเกาะชวา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลที่เข้ามาใหม่ก็ดูเหมือนว่าไม่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศ ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาอย่างอินโดนีเซียได้

แม้อินโดนิเซียจะมีการจัดตั้งองค์การปราบปรามคอร์รัปชั่น หรือ Corruption Eradication Commission แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่สามารถแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นได้ สาเหตุหนึ่งเพราะนักการเมืองบางกลุ่มยังคงปกป้องผลประโยชน์ของตนเองและแสวง หาผลประโยชน์ส่วนตัวบนตำแหน่งหน้าที่ได้เข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรดัง กล่าว
ทั้งฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียจึงเป็นตัวอย่างที่ดีที่สะท้อนปัญหาการฉ้อฉลอำนาจ หรือ Power Corrupt ของเหล่าผู้นำประเทศ

อีกประเทศที่น่าสนใจคือ เวียดนามซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดในอาเซียนเนื่องจาก อัตราความเจริญทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง และตอนนี้ยังเป็นคู่แข่งที่สำคัญกับบ้านเราอีกด้วย อย่างไรก็ดี ระดับค่า CPI ปีล่าสุดยังอยู่เพียง 2.7 สะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในสายตาของ ประชาชนในประเทศว่ายังอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน

สำหรับมาเลเซีย ตลอดระยะเวลาที่พรรคอัมโนครองอำนาจภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ มูฮัมหมัด มาจนกระทั่งนายนาจิบ ราซักก์ มาเลเซียได้พัฒนาประเทศขึ้นมาเป็นเบอร์สองของอาเซียน นอกเหนือจากความเข้มแข็งของรัฐบาลแล้ว เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มาเลเซียสามารถพัฒนาขึ้นมาได้เร็ว คือ การเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามปัญหาการทุจริตโดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมาย ที่รุนแรงกับเหล่าเจ้าหน้าที่รัฐที่ฉ้อโกงทั้งหลาย อย่างไรก็ดีในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้มาเลเซียจะมีการเลือกตั้ง ต้องติดตามกันต่อไปว่า พรรค ของ นายอันวาร์ อิบราฮิม ซึ่งเป็นพรรคตรงข้ามกับรัฐบาลจะเอาชนะได้หรือไม่ ซึ่งหากชนะอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งสำคัญ และเปลี่ยนแปลงนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เนื่องจาก นายอันวาร์ เองได้ประกาศนโยบายชัดเจนในการแข่งขันครั้งนี้ว่าต้องการปราบปราม คอร์รัปชั่นให้หมดไป

สำหรับในประเทศไทยนั้น ค่าเฉลี่ย CPI อยู่ระหว่าง 3.5-4 มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี แสดงให้เห็นว่า ประเทศเราไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังและดูเหมือนจะทวี ความรุนแรงมากขึ้นเพราะนอกจากค่า CPI จะไม่เปลี่ยนแล้วการจัดลำดับด้านคอร์รัปชั่นตกลงมาเรื่อยๆ จนอยู่ในลำกับที่ 88 จาก 183 ประเทศ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
ค่า CPI ที่ไม่เปลี่ยนแปลงนี้แสดงให้เห็นว่า คนไทยส่วนหนึ่งมองปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่ฝังลึกอยู่ในกมลสันดานของคน ไทย และบางส่วนอาจยอมรับการคอร์รัปชั่น อย่างที่โพล หลายสำนึกได้แสดงให้เห็นว่า หากการคอร์รัปชั่นนั้นนำมาซึ่งประโยชน์แก่ตนเอง  คนไทยบางกลุ่มก็พอยอมรับได้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

หากพิจารณาศักยภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นจะเห็น ได้ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงในเวที โลก แต่ปัญหาคอร์รัปชั่นกลับเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศสมาชิกหลายประเทศไม่ สามารถพัฒนาไปได้เท่าที่ควร ประเด็นสำคัญซึ่งนำมาสู่ปัญหาคอร์รัปชั่นที่หลายประเทศในอาเซียนต้องเผชิญ คือผู้นำและผู้มีอำนาจในบ้านเมืองต่างแสวงหาประโยชน์ให้กลุ่มและพวกพ้องตน เองมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก

แม้ว่าผู้นำของอาเซียนเองจะตระหนักถึงปัญหาคอร์รัปชั่นและพยายามหาทาง แก้ไขร่วมกัน โดยได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อต่อต้านคอร์รัปชั่น เมื่อ พ.ศ. 2547 แต่ก็ยังไม่ได้มีการออกกฎระเบียบ หรือนโยบายใดๆร่วมกันออกมาอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากแต่ละประเทศยังต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศตน การลงนามในข้อตกลงใดๆอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศตนเองในภายหลังได้

อีกประเด็นที่สำคัญคือความอ่อนแอขององค์กรภาค รัฐในการจัดการกับปัญหาคอร์รัปชั่น ในอินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์ เองก็ได้มีการจัดตั้งองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นขึ้น แต่พอเอาเข้าจริง ผู้มีอำนาจก็เข้าไปแทรกแซงกระบวนการทำงานขององค์กรเหล่านั้น ทำให้องค์กรที่จัดตั้งขึ้นไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่

นอกจากนี้กฎหมายและกระบวนการลงโทษในประเทศอาเซียนบางประเทศยังไม่จริงจัง เพียงพอ  ผู้กระทำผิดบางคน เช่นในอินโดนิเซีย เมื่อถูกลงโทษแล้ว แต่ต่อมาศาลอาจลดโทษให้จนในที่สุดก็ได้รับการปล่อยตัวไป

ดังนั้นหากจะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในอาเซียนให้ เห็นเป็นรูปธรรมแล้วนั้นอาจต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก มิใช่แค่เพียงประเทศใดประเทศหนึ่งจัดการกันเอง อาเซียนควรจัดให้นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นเป็นวาระเร่งด่วนภายใต้เสาที่ 1 หรือเสาการเมืองและความมั่นคงของประชาคมอาเซียนเพื่อให้เกิดการผลักดันอย่างแท้จริง
ผู้ มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำข้อตกลงด้านการเมืองและความมั่นคงควรต้องมาพูด คุยกันอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกันที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง อาจมีการจัดตั้งองค์กรเพื่อความร่วมมือต่อต้านการคอร์รัปชั่นภายใต้อาเซียน หรือ สร้างความร่วมมือเพื่อการสอบสวนกรณีการคอร์รัปชั่นต่างๆหากสถานการณ์นั้น เกี่ยวข้องกับประเทศสมาชิกหลายประเทศ เป็นต้น

สถานการณ์การคอร์รัปชั่นในภูมิภาคนั้น นอกจากจะทำลายเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว แล้วยังมีส่วนในการทำลายระบอบประชาธิปไตยของประเทศสมาชิกอีกด้วย เป็นที่น่าสนใจว่าภูมิภาคอาเซียนจะจัดการกับปัญหาการคอร์รัปชั่นร่วมกัน อย่างไรเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของภูมิภาคในการแข่ง ขันบนเวทีโลกต่อไปในอนาคต
ในเดือนกรกฎาคม ที่จะถึงนี้จะมีการสัมมนา EUROSEAS ซึ่งเป็นการสัมมนาใหญ่ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากส่วนต่างๆทั่วโลก ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส

และหัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้หัวข้อหนึ่งคือ ปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นว่าปัญหาคอร์รัปชั่นดังกล่าวไม่ได้เป็นที่กังวลของประชาชนใน ภูมิภาคเราเท่านั้น แต่ยังเป็นที่จับตามองของนักวิชาการต่างชาติและหน่วยงานอื่นๆนอกภูมิภาคอีก ด้วย

 ผลจากการประชุมอาจนำมาซึ่งข้อสรุปบางประการที่น่าสนใจ ถ้ามีโอกาสดิฉันจะนำมาเล่าให้ฟังต่อไปคะ

ที่มา: matichon.co.th (1440)

Comments are closed.