“สร้างแบรนด์” ยุทธศาสตร์สำคัญนำอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่ครัวโลก

“…ในการก้าวสู่ตลาดโลก ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารปลอดภัย การตรวจสอบย้อนกลับ สิ่งแวดล้อม และ ความยั่งยืน รวมถึงกฎระเบียบการค้าใหม่ ๆ และ แนวโน้มใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมอาหาร”

คุณโฆษิต โลหะวัฒนะกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดต่างประเทศ สายธุรกิจการค้าต่างประเทศ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร กล่าวว่า ไทยมีทั้งศักยภาพและโอกาสในการเป็น “ครัวโลก” ปัจจุบันเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารมากเป็นอันดับต้นของโลก แต่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรขั้นพื้นฐาน  หากต้องการให้อุตสาหกรรมอาหารไทย เติบโตอย่างยั่งยืนได้ในตลาดโลกนั้น ในระยะยาวจะต้องพัฒนาให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และเร่งสร้างแบรนด์ไทยให้โดดเด่นบนเวทีโลก

ทั้งนี้การผลิตสินค้าเกษตรขั้นพื้นฐานบางชนิดของประเทศไทยมีต้นทุนการผลิต ที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งอาจจะทำให้ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรขั้นพื้นฐานบางชนิดสู้คู่ แข่งได้ หากต้องการผลิตสินค้าเกษตรขั้นพื้นฐานบางชนิดจะต้องหันไปมองการลงทุนใน ประเทศอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า

และอุตสาหกรรมอาหารไทยที่จะไปแข่งขันในตลาดโลกนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ ทั้งนี้เพราะสินค้าที่อยู่ภายใต้แบรนด์ที่ทั่วโลกยอมรับ  ผู้บริโภคย่อมมี ความเชื่อมั่นและพร้อมที่จะจ่ายแพงกว่า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลกำไรให้กับผู้ประกอบการ

คุณโฆษิต กล่าวอีกว่า ในการก้าวสู่ตลาดโลก ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารปลอดภัย งการตรวจสอบย้อนกลับ  สิ่งแวดล้อม และ ความยั่งยืน รวมถึงกฎระเบียบการค้าใหม่ ๆ และ แนวโน้มใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมอาหาร

ยกอย่างเช่น ปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า หรือที่เรียกว่า Country of origin  ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคในต่างประเทศต้องการซื้ออาหารที่ผลิตและใช้ วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อลดการใช้พลังงานในการขนส่ง และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญอีกประการที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องการค้าขายในตลาดโลก คือเรื่องฉลากบนบรรจุภัณฑ์ เพราะการผลิตอาหารขายในตลาดโลกจะต้องมีการแจ้งรายละเอียดส่วนผสมต่าง ๆ แก่ผู้บริโภคบนฉลากบรรจุภัณฑ์  ซึ่งแต่ละประเทศย่อมมีกฎระเบียบบังคับที่แตก ต่างกันไป ถือเป็นความท้าทายประการหนึ่งต่อผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ในการพัฒนาสินค้าให้ มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เรื่องบรรจุภัณฑ์ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ยังเป็นเรื่องที่ประเทศไทยขาดความชำนาญ นวัตกรรมของบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อาหารต้องทำให้ใช้งานง่าย ทนทาน ต้นทุนผลิตไม่สูง

“ความท้าทายอีกประการสำหรับอาหารไทยในตลาดโลกก็คือเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เงิน ตราต่างประเทศ  ต้องมีการวางแผนจัดการความเสี่ยงให้รัดกุม โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งเช่นปัจจุบัน”คุณโฆษิต กล่าวและว่า

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารของไทยเรียกได้ว่า เป็นผู้นำในอาเซียน เป็นอุตสาหกรรมที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีคุณภาพ มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ทั้งในด้านมาตรฐานโรงงาน ความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่ม

ฉะนั้นอุตสาหกรรมอาหารไทยจึงมีศักยภาพและเต็มไปด้วยโอกาสในการเป็นครัวของ โลก  ผู้ ประกอบการต้องเร่งพัฒนาตัวเอง สร้างแบรนด์อาหารไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับ โลก เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน (1302)

Comments are closed.