วันนี้ผมมีเรื่องจะนำเสนอเป็นบทความสั้นๆ ให้กับท่านผู้อ่านได้ทราบว่า สาเหตุสำคัญสิ่งหนึ่งซึ่งหลายท่านอาจยังไม่ทราบเกี่ยวกับข่าวการเกิดเหตุ เพลิงไหม้สถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน อาคารไม้ ห้องแถวเก่าแก่บางแห่งเป็นต้น ว่าต้นตอจริงๆ มาจากสาเหตุอะไรกันแน่?
ตัวอย่างข่าวที่เคยนำเสนอ :
เหตุผลที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นผลงานของเจ้าฟันแทะ
4.ปริมาณเศษอาหารที่มีในบ้าน ถูกกัดแทะกินเป็นรอยให้พบเห็นอยู่เสมอ แสดงว่ามีหนูอาศัยอยู่จำนวนมาก ยิ่งอาหารมีความสมบูรณ์ ก็ยิ่งทำให้ฟันของหนูงอกยาวเร็วขึ้นไปด้วย การกัดแทะก็ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งสายไฟฟ้าเก่าๆที่เริ่มหมดสภาพ กลิ่นมันจะหอมเตะจมูกหนูดีนักแล แทะก็อร่อยเหลือเกิน
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายไฟฟ้า
สายไฟภายในบ้าน ควรเปลี่ยนเมื่อไร
หลายคนอาจมองว่าไม่สำคัญหรือเห็นเป็นเรื่องยาก เลยไม่ได้ใส่ใจ แต่ระบบไฟฟ้าภายในบ้านเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ส่วนมากเพื่อความปลอดภัยการเรียกช่างไฟฟ้าถือส่าเป็นวิธีที่อุ่นใจที่สุด แต่บางสิ่งบางอย่างหากเป็นเรื่องง่ายๆ ก็อาจตรวจสอบเองได้ อาทิ
จุดต่อสาย
ตรวจสอบจุดต่อสายในการเข้าสายต้องขันให้แน่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
อุณหภูมิของสาย
สังเกตอุณหภูมิของสายโดยใช้การสัมผัสที่ผิวฉนวนของสาย ถ้ารู้สึกอุ่นหรือร้อนแสดงว่ามีสิ่งผิดปกติ อาจเนื่องจากใช้ไฟเกินขนาดของสาย หรือมีจุดต่อสายต่างๆ ไม่แน่น เช่น บริเวณปลั๊กไฟ เต้ารับ สวิตช์ เป็นต้น
สีของเปลือกสาย
สังเกตสีของเปลือกสายไฟ ถ้าสายไฟบางเส้นมีสีเปลี่ยนไป เช่น สีขาวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือมีฝุ่นจับมาก แสดงว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ อาจมีการใช้ไฟเกินขนาดสายหรือมีการต่อสายไม่แน่น เป็นต้น
ฉนวนของสายไฟฟ้า
ฉนวนของสายไฟฟ้าต้องไม่มีการแตกกรอบ ไม่มีรอยไหม้ ชำรุด ถ้าพบควรหาสาเหตุแล้วแก้ไขสาเหตุ พร้อมเปลี่ยนสายใหม่
สภาพของสายไฟฟ้า
หมั่นตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย โดยให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจสภาพไว้ทุกครั้งด้วย
ขนาดของสายไฟฟ้า
กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่
ถ้าขนาดสายไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนใหม่
ตรวจสอบสายไฟ
ตรวจสอบสายไฟบริเวณที่ทะลุผ่านฝ้าเพดานหรือผนัง อาจมีรอยหนูแทะเปลือกของสายทำให้เกิดลัดวงจรและเกิดไฟไหม้ได้
หากท่านพันสายไฟเอง ควรเลือกใช้เทปพันสายไฟที่ได้มาตรฐาน เนื้อกาวคุณภาพดีไม่เหนียวเยิ้ม และเวลาพันจะต้องยืดเนื้อเทปออกตามยาว จนหน้ากว้างเทปลดลงเหลือประมาณ 3 ใน 4 เมื่อพันถึงรอบสุดท้ายให้พันเทปโดยไม่ต้องดึงอีกหนึ่งรอบ แล้วตัดเทปด้วยมีดหรือกรรไกร ไม่ควรดึงเทปให้ขาดด้วยแรงดึง เพราะจะทำให้ปลายเทปย่น น้ำหรือความชื้นจะสามารถเข้าไปทำลายกาวของเทป ซึ่งจะทำให้เทปหลุดล่อนออกมา
ที่มา: http://ratthaicontrol.blogspot.com
(6842)