10 วิธีเสริมจุดแข็ง CIO พัฒนาเทคโนโลยีรับใช้งานบริหาร

ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าปัจจุบันโลกของเทคโนโลยีไอทีทุกรูปแบบเข้า มามีส่วนสำคัญสำหรับการบริหารองค์กร และบุคลากรค่อนข้างมาก ไม่เว้นแม้แต่เฉพาะในฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หากในทุกฝ่าย

เพราะเทคโนโลยี ไอทีกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่ไม่เพียงเชื่อมโยงฝ่ายหนึ่งกับอีกฝ่ายหนึ่ง หากเทคโนโลยีไอทียังเข้ามามีบทบาททางธุรกิจต่าง ๆ ของแต่ละบริษัทด้วย

ผล เช่นนี้จึงทำให้ “บ็อบ อีแวนส์” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทผู้บุกเบิกโซลูชั่นระดับไฮเอนด์ ทั้งในส่วนของ Exadata, Exalytics และ Exalogic ซึ่งนำระบบที่ปรับแต่งเป็นพิเศษ มาช่วยให้ “Chief Information Officer-CIO” หรือ “ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง” เพื่อสามารถจัดสรรบุคลากร และทรัพยากรให้กับโครงการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าได้มากขึ้น

โดยไม่ต้องสูญเสียงบประมาณไปกับงานผนวกรวมระบบ ซึ่งแทบจะไม่เป็นประโยชน์แก่องค์กรในแง่ของการเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน

ดัง นั้นเพื่อให้เห็นภาพต่อพลังในการขับเคลื่อนธุรกิจ ท่ามกลางสภาพตลาดโลกที่มีการเชื่อมต่อตลอดเวลา ที่น่าจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง “บ็อบ อีแวนส์” จึงฉายภาพภารกิจสำคัญสำหรับ CIO ที่น่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นผู้นำแทนที่จะเป็นผู้ตาม

ทั้งยังเป็นการ จุดประกายความเปลี่ยนแปลง ที่จะต้องทำให้พนักงานในองค์กรนำเทคโนโลยีมารับใช้กับทักษะในการบริหาร ซึ่ง “บ็อบ อีแวนส์” บอกว่า มีเหตุและผล 10 ประการดังต่อไปนี้ คือ

หนึ่ง ลดความยุ่งยากซับซ้อนของระบบไอที และเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายของคุณ : การตัดสินใจที่กล้าหาญในการปรับใช้แนวทางใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานไอ ทีเป็นวิธีเดียวที่ CIO สามารถจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการใหม่ ๆ ที่ล้ำสมัย และสำคัญอย่างยิ่ง

ปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากต้องใช้จ่ายงบประมาณไอ ทีราว 70% หรือ 80% ไปกับการควบคุมดูแล และบำรุงรักษาระบบที่มีอยู่ และมีงบประมาณเหลืออยู่เพียง 20% เท่านั้นสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ

โดย เรื่องนี้ “บ็อบ ดีแวนส์” มองเสริมว่า เพราะนโยบายไอทีในอดีตนำไปสู่กับดัก 80/20 สำหรับการใช้งบประมาณที่ไม่สามารถตอบสนองต่อโลกธุรกิจปัจจุบัน ซึ่งมีความต้องการสูงมาก และมีการเชื่อมต่อตลอดเวลา

“ที่จริงแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดภาระเพิ่มมากขึ้น เพราะแนวทางดังกล่าวนอกจากจะไม่เพียงพอแล้ว ยังผลาญงบประมาณไอทีส่วนใหญ่ จน CIO แทบจะไม่สามารถจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการใหม่ ๆ ในด้านระบบวิเคราะห์ข้อมูล ระบบคลาวด์ ระบบโมบายล์ หรือระบบโซเชียล”

“CIO จึงจำเป็นต้องแยกแยะว่า โซลูชั่นของบริษัทใดจะซ้ำเติมปัญหาให้เลวร้ายลง และผู้ผลิตรายใดนำเสนอทางเลือกที่ทันสมัย ถูกกว่า รวดเร็วกว่า และฉลาดมากกว่า หาก CIO สามารถแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญดังกล่าวจะได้รับเงินโบนัสเพิ่มมากขึ้น และสามารถสร้างคุณประโยชน์อย่างมากแก่บริษัท รวมไปถึงอาชีพการงานของตนเอง”

สอง ชี้นำการพัฒนาระบบโซเชียล : ผลักดันองค์กรที่รองรับระบบโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะช่วยให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้า โดย CIO ของบางองค์กรยินยอมที่จะเปิดช่องทางดังกล่าว (แต่ยังคงใช้มาตรการบางอย่างเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้าย)

นอกจาก นั้น พัฒนาการทางด้านโซเชียลยังคงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานภายในองค์กร เช่นกัน เพราะจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานที่มีอยู่ และดึงดูดบุคลากรใหม่ ๆ ที่มีความรู้

ความสามารถ ทั้งยังช่วยกระชับสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งกับพันธมิตรและคู่ค้า เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย

CIO ที่ต่อต้านแนวโน้มดังกล่าวจะถูกกีดกันโดยผู้บริหารระดับสูงคนอื่น ๆ รวมถึงหัวหน้าสายงานธุรกิจ ซึ่งเข้าใจศักยภาพของโซเชียลเน็ตเวิร์กในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการ แข่งขันให้แก่บริษัท

สาม ปลดปล่อยข้อมูลเชิงลึกในบริษัทของคุณ : สร้างห่วงโซ่โอกาส (Opportunity Chain) ที่ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ด้วยการพัฒนาต่อยอดจากแนวคิดเรื่องห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และห่วงโซ่อุปสงค์ (Demand Chain) รวมไปถึงระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) และตลาดข้อมูล (Data Mart)

ห่วงโซ่โอกาสจะช่วยเปลี่ยนแปลงข้อมูล ที่มุ่งเน้นการใช้งานภายในองค์กร ไปสู่โอกาสที่มุ่งเน้นลูกค้า และกระตุ้นการเติบโต แนวคิดเรื่องห่วงโซ่โอกาสจะจัดหากรอบโครงสร้าง และบริบทสำหรับการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของระบบวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจและ ข้อมูลบิ๊กดาต้า

ห่วงโซ่โอกาสจะช่วยให้ CIO สามารถผลักดันสินทรัพย์ข้อมูลใหม่ ๆ ที่มีมูลค่าสูงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ทั่วทั้งองค์กร และแสดงให้เห็นว่าเมื่อเทคโนโลยีทางด้านธุรกิจได้รับการปรับใช้อย่างจริงจัง และสร้างสรรค์จะช่วยผลักดันการเติบโต และกระตุ้นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

สี่ รองรับระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ : ผสานรวมระบบงานส่วนหลัง และส่วนหน้าเข้าด้วยกันไว้ในระบบศูนย์บริการลูกค้า (Customer Office) หนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของ CIO คือความสามารถในการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง และเข้าใจกระบวนการแบบครบวงจรของบริษัท CIO และทีมงานฝ่ายธุรกิจ-เทคโนโลยี เพื่อรับทราบข้อมูลเชิงลึกจำนวนมากเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท

ภารกิจ สำคัญ จุดอ่อน และโอกาส ขณะที่ระบบรุ่นเก่าเน้นย้ำแนวคิดที่ว่ามีบุคลากรเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มี สิทธิ์ติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ซึ่งอาจเป็นเรื่องสะดวกสำหรับบุคคลภายในองค์กร แต่ผู้บริโภคในปัจจุบันมีอำนาจทางสังคมเพิ่มมากขึ้น และต้องการเข้าถึงส่วนงานอื่น ๆ นอกเหนือจากทีมงานฝ่ายขาย

คำถามสำคัญคือคุณจะขยายช่องทางการเข้าถึงให้แก่ลูกค้าได้หรือไม่ ?

ห้า จัดเตรียมสถาปัตยกรรมไอทีรองรับอนาคต : ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่จำเป็นต้องส่งผลให้โครงสร้างพื้น ฐานขยายตัวอย่างรวดเร็วควบคู่กันไปด้วยเสมอไป ที่จริงแล้ว องค์กรธุรกิจต้องการแนวคิดที่แปลกใหม่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมแห่งอนาคต

เพราะ เพียงแค่การฟื้นฟู หรือเพิ่มเติมส่วนประกอบบางอย่างเข้าไปในแผนงานที่มีอยู่ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างหลากหลาย และเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในอนาคต

ระบบคลาวด์, โซเชียล, การติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิด, Big Vision (ซึ่งต่อยอดมาจาก Big Data) และธุรกิจทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลง และขยายตัวอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องอาศัยแอปพลิเคชั่นสมัยใหม่ ระบบที่ปรับปรุงดีขึ้น ทนทานต่อข้อผิดพลาด พร้อมการสนับสนุนที่พร้อมสรรพ

โดยครอบคลุมทั้งใน ส่วนของระบบคลาวด์ ระบบที่ติดตั้งภายในองค์กร หรือระบบทั้งสองแบบที่ผสมผสานกัน รวมไปถึงความสามารถด้าน BI และโซเชียลที่รวมไว้ภายใน

ถึงตรงนี้ “บ็อบ อีแวนส์” จึงขยายเพิ่มเติม ในประเด็นที่หก เกี่ยวกับการอัพเกรดกลยุทธ์คลาวด์สู่การปฏิรูปธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยี คลาวด์

“ทั้งนั้นเพราะการประเมินโครงการคลาวด์ไม่ได้พิจารณาจาก ประโยชน์ทางด้านเทคนิค หรือการเริ่มต้นใช้งานตามวันที่กำหนดอีกต่อไป แต่จะต้องพิจารณาจากผลกระทบที่มีต่อการปฏิรูปธุรกิจ รวมไปถึงการสร้างมูลค่า และโอกาสทางด้านธุรกิจ ในกระบวนการดังกล่าว”

“เพราะ CIO จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารฝ่ายไอทีที่มุ่งเน้นเฉพาะแง่มุมทางด้านเทคนิคของระบบคลาวด์ และผู้บริหารส่วนงานธุรกิจที่ควบคุมการออกแบบ และดำเนินโครงการคลาวด์เพื่อรองรับการให้บริการแก่ลูกค้า การดำเนินธุรกิจ และการติดต่อประสานงาน”

เจ็ด แปรเปลี่ยนข้อมูลบิ๊กดาต้าให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกจำนวนมหาศาล, วิสัยทัศน์ที่กว้างขวาง และโอกาสที่ยิ่งใหญ่ CIO จำเป็นที่จะต้องพิจารณาปัญหาท้าทายจำนวนมากที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยแนวทางที่เหมาะสม

กล่าวคือจะต้องมองว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วย ขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่ใช่โครงการทางด้านเทคโนโลยี เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้น หากคุณสามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าในช่วง 3 ปี โดยใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่นาที แทนที่จะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

บริษัทต่าง ๆ จะได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมเพิ่มมากขึ้น หากว่า CIO เริ่มต้นกำหนดกรอบความท้าทาย และโอกาสในเรื่องบิ๊กดาต้าอย่างกระตือรือร้น และทันท่วงทีในลักษณะที่สอดรับกับลูกค้า โอกาส รายได้ และคุณค่าทางธุรกิจ

แปด ผสานรวมระบบบันทึกข้อมูลเข้ากับระบบติดต่อประสานงาน ระบบส่วนหลัง (back-end) แบบเดิม ๆ อาจมีความแข็งแกร่ง และเปี่ยมด้วยเสถียรภาพ แต่ไม่อาจรองรับสตรีมข้อมูลใหม่ ๆ ที่มีจำนวนมหาศาลจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก วิดีโอ ประสบการณ์ลูกค้า และอื่น ๆ อีกมากมาย

“บ็อบ อีแวนส์” บอกว่า ผู้บริหาร CIO ที่มีบทบาทในเชิงกลยุทธ์จะต้องมองหาแนวทาง หรือโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อเชื่อมโยงระบบที่แยกออกจากกันให้ผสานรวมเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็ว และไร้รอยต่อ

“การผนวกรวมระบบโซเชียล, โมบายเข้ากับระบบธุรกรรม จะช่วยให้บริษัทมีหนทางใหม่ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างฉับไว พร้อมทั้งติดต่อประสานงานกับลูกค้าเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ใกล้ชิด และครอบคลุมหลากหลายแง่มุม”

“นอกจากนี้บริษัทจะสามารถหลบเลี่ยงหลุมพรางของระบบที่มีขนาดใหญ่เทอะทะหลายระบบ ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการภายในองค์กร”

เก้า เป็นผู้นำด้วยการดำเนินการที่ฉับไว CIO ควรทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการดำเนินการภายในองค์กร ถ้าคุณให้คำมั่นสัญญาต่อ CEO ว่าคุณจะสามารถลดระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มการหมุนเวียนสต๊อกให้รวดเร็วขึ้น เร่งการส่งมอบสินค้าแก่ลูกค้า ลดหรือขจัดการรอคอยสำหรับลูกค้าที่ต้องการบริการจากคุณ และเพิ่มความรวดเร็วในการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า

“CEO ย่อมจะให้ความเคารพนับถือคุณอย่างแน่นอน องค์กรธุรกิจในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจะพบว่าในปี 2556 ความเร็วสามารถเอาชนะทุกสิ่ง และมีเพียงคำถามเดียวที่จะต้องหาคำตอบ นั่นคือบริษัทของคุณจะกลายเป็นเหยื่อหรือเป็นผู้ชนะ”

สิบ สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างรวดเร็ว ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยีนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีสมรรถนะ และขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังซับซ้อนมากขึ้นด้วย จึงส่งผลให้ฝ่ายไอทีต้องเชื่อมโยงส่วนประกอบมากมายจากผู้ผลิตหลายร้อยราย เข้าด้วยกัน และต้องหาวิธีที่จะทำให้ระบบเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืน

เพราะ ปัจจุบัน ระบบรุ่นเก่ากลายเป็นรูปแบบที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่มุ่งเน้นความเรียบง่าย เพื่อให้ CIO และทีมงานฝ่ายธุรกิจ-เทคโนโลยีไม่ต้องวุ่นวายอยู่กับการผนวกรวมระบบต่าง ๆ

เพื่อ ให้มีเวลามากขึ้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโต และปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า จนไม่ไปยึดติดกับเทคโนโลยีไอทีมากเกินไปจนลืมความสำคัญต่อทักษะความสามารถ ของพนักงาน

อันเป็นองค์ประกอบหลักในการขับเคลื่อนองค์กร ?

ที่มา: prachachat.net (1108)

Comments are closed.