วุ้นในลูกตาเสื่อม อันตรายที่คนใช้คอมพิวเตอร์ต้องอ่าน (emaginfo)

          ในชีวิตประจำวันของคนทุกคน เดี๋ยวนี้แทบจะไม่มีใครที่ใช้คอมพิวเตอร์ บางคนต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกือบทั้งวัน ก็เลยทำให้หนุ่มสาววัยทำงาน เริ่มเป็นกันมากขึ้น
          โรควุ้นในตาเสื่อมเป็นโรคที่มักจะเกิดกับผู้มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป แต่ปันจุบันกลับพบโรคนี้ในวัยหนุ่มสาวคนทำงานออฟฟิศกันมากขึ้นจนน่าตกใจ เรียกได้ว่าโรควุ้นในตาเสื่อมเป็นหนึ่งในโรค office syndrome โดยตอนนี้ในประเทศไทย มีคนเป็นโรคนี้ถึง 14 ล้านคนแล้ว จากข้อมูลทางหนังสือพิมพ์
 วุ้นในตาเสื่อม กับความเสี่ยงที่มากขึ้น
          ในคนที่เป็นโรคอาการวุ้นในตาเสื่อม เวลาลืมตาจะเห็นเป็นคราบดำ ๆ เหมือนหยากไย่ ลอยไปลอยมาเหมือนคราบที่ติดกระจก โดยจะเห็นชัดก็ต่อเมื่อมองไปยังภาพแบล็คกราวนด์ที่มีสีสว่าง เช่น ท้องฟ้าขาว ๆ ฝาห้องขาว ๆ ฝาห้องน้ำขาว ๆ จะเห็นเป็นคราบดำ ๆ ลอยไปลอยมา
          ในบางคน อาจมีอาการมากกว่านั้นคือ ประสาทตาฉีกขาด จะมองเห็นแสงแฟลชในที่มืด ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา ซึ่งอาการนี้น่ากลัวมาก ๆ และถึงขั้นนี้จะต้องผ่าตัด ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าจะดีเหมือนเดิมจะตาบอดหรือไม่
 สาเหตุของโรค
          การใช้สายตามากเกินไป หรือเพ่งจอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เป็นเวลานาน คือสาเหตุของโรควุ้นในตาเสื่อม
          แต่ก่อนโรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ หรือ คนที่มีอาชีพใช้ที่สายตามาก ๆ เช่น ช่างเจียระไนเพชรพลอย ที่ต้องใช้สายตาเพ่งมาก ๆ แต่เดี๋ยวนี้คนเป็นโรควุ้นในลูกตาเสื่อมกันมากเพราะเล่นอินเทอร์เน็ต หรือเล่นคอมพิวเตอร์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต
          ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าไม่ว่าคุณจะเล่นเน็ต, เล่นเกมส์, อ่านไดอารี่, อ่านบทความ, อ่าน หนังสือหรืออะไรก็ตาม ที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ล้วนทำให้สายตาคุณเสียได้ทั้งสิ้น
          เพราะถ้าคุณอ่านหนังสือที่เป็นแผ่นกระดาษธรรมดา ๆ ระยะห่างระหว่างลูกตากับตัวหนังสือจะคงที่แน่นอน เพราะขอบของตัวหนังสือจะคมชัด ทำให้สมองกะระยะโฟกัสได้ถูกต้องแน่นอนกว่า กล้ามเนื้อและประสาทตาจึงทำงานค่อนข้างคงที่
          แต่ตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเป็นจุด ๆ ประกอบกัน เหมือนแขวนลอยบนจอ ขอบของตัวหนังสือไม่คมชัด สมองจะสับสนในการปรับระยะโฟกัส เพราะจอแก้ว จะมีความหนาของแก้ว แต่เรามองผ่านมันไป อย่าลืมว่าจอ LCD เราก็ต้องมองผ่านเข้าไปเหมือนกัน ตัวหนังสือไม่ได้ติดอยู่ด้านบนเหมือน อยู่บนแผ่นกระดาษ
          ดังนั้นจึงทำให้การปรับระยะโฟกัสจึงไม่แน่นอน บวกกับลักษณะการอ่านหนังสือในคอมนั้น จะต้องใช้เม้าส์จิ้ม ลากแถบด้านข้างจอ เพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือขึ้นลง เพื่อที่จะอ่านบรรทัดด้านล่างได้หรือไม่ก็ใช้ลูกหมุนที่อยู่บนเม้าส์หมุนเพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือ
          แต่การเลื่อนบรรทัดนี้ ไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือจากแผ่นกระดาษ ที่แขนกับคอเราจะปรับการมองขึ้นลงโดยอัตโนมัติ มีระยะที่แน่นอน สัมพันธ์กัน แต่ว่าการเลื่อนบรรทัดด้วยแถบด้านข้าง หรือลูกกลิ้งบนเม้าส์นั้น มันจะมีลักษณะการเลื่อนแบบกระตุก ๆ จึงทำให้ปวดตามาก ๆ เพราะจะต้องลากลูกตาเลื่อนตามบรรทัดที่กระตุก ๆ นั้นไปตลอด
          นอกจากนี้ยังรวมถึงการพิมพ์ตัวหนังสือ ที่บางทีคุณต้องก้มเพื่อมองนิ้ว ว่ากดตำแหน่งบนแป็นพิมพ์ถูกตัวอักษรหรือไม่ ทำให้เดี๋ยวก้ม เดี๋ยวเงย ลูกตาปรับโฟกัสบ่อยเกิน ทำให้ลูกตาทำงานหนัก กว่าจะพิมพ์งานเสร็จ คุณจะปวดตามาก ๆ
 เป็นโรควุ้นตาเสื่อมทำอย่างไร
          ผู้มีวุ้นตาเสื่อมประเภทไม่เป็นอันตราย: ภาวะนี้เป็นภาวะที่ไม่จำเป็นต้องให้การรักษา แต่ควรสังเกตตัวเอง หากมีภาวะดังต่อไปนี้ ควรรีบพบจักษุแพทย์ เพราะมักเกิดจากสาเหตุที่ทำให้เกิดวุ้นตาเสื่อมประเภทอันตราย
           1. จุดลอยดังกล่าวมีจุดใหม่ลอยมากขึ้น
           2. มีแสงระยับคล้ายแสงแฟลช (Flash)
           3. สายตามัวลง
           4. มีอาการคล้ายมีม่านบังดวงตาเป็นแถบ ๆ
          ผู้มีวุ้นตาเสื่อมประเภทมีอันตราย ควรปฏิบัติตามจักษุแพทย์ และพยาบาลจักษุแนะนำอย่างเคร่งครัดรวมทั้งต้องดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุให้ได้ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น

 วิธีชะลอการเสื่อมของวุ้นตา
           1. มีบางรายงานแนะนำใช้ยาประเภทบำรุงร่างกายเป็นวิตามิน/อาหารประเภทสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ (Antioxidant) แต่ยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัดว่าได้ผลจริง โดยทั่วไปการรับ ประทานอาหารครบทุกหมู่ (อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณเหมาะสมที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน) นำมาซึ่งร่างกายแข็งแรงน่าจะเพียงพอ
           2. ไม่สูบบุหรี่ งด/เลิกบุหรี่เมื่อสูบอยู่
           3. มีการออกกำลังกายที่พอดีกับสุขภาพสม่ำเสมอ
           4. หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะส่งผลถึงดวงตา
           5. หากมีโรคทางกายเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ต้องควบคุมให้ดี

Cr : Kapool.com (1015)

Comments are closed.