ธปท. เผยเช็คเด้งพุ่ง 9.21 พันล.

ASTV ผู้จัดการรายวัน – รายงานข่าวจากการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ฝ่ายการชำระเงินและพันธบัตรของ ธปท. ได้รายงานข้อมูลตัวเลขสำคัญของระบบการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคาร พบว่า มูลค่าเช็คเรียกเก็บรวมทั้งประเทศลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ล่าสุดในเดือน พ.ค. 57 ลดระดับ 10.9% จากระยะเดียวกันปีก่อนหรือมีมูลค่าเช็คทั้งสิ้น 3.2 ล้านบาท เช่นเดียวกับปริมาณเช็คลดลง 8.6 % หรือมีปริมาณเช็คทั้งสิ้น 5.95 ล้านฉบับ เพราะการชะลอตัวต่อเนื่องของภาวะเศรษฐกิจจากความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นสำคัญ ทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐประหารช่วงปลายเดือน

ขณะที่เช็คคืนรวมมีมูลค่าลดลงเหลือ 1.8 หมื่นล้านบาท จากเดือนก่อนมีมูลค่า 2.13 หมื่นล้านบาท ทำให้มีสัดส่วนเช็คคืนรวมต่อเช็คเรียกเก็บมีมูลค่าลดลงเหลือ 0.6 % จากเดือนก่อนอยู่ที่ 0.7 % ส่วนเช็คคืนไม่มีเงิน ( เช็คเด้ง ) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.21 พันล้านบาท จากเดือนก่อนมีมูลค่าเช็คเด้ง 8.77 พันล้านบาท  ทำให้สัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 0.29% จากเดือนก่อนมีอยู่ที่ 0.28 %

การเรียกเก็บเงินตามเช็คในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีปริมาณและมูลค่าลดลง 10.2 % และ 11.5 % ตามลำดับ ซึ่งเดือนนี้มีปริมาณทั้งสิ้น 4.16 ล้านฉบับ และมีมูลค่าอยู่ที่ 2.81 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่าเช็คเด้งทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 3.5 หมื่นล้านฉบับ มูลค่า 6.08 พันล้านบาท จากเดือนก่อน 3.48 หมื่นล้านฉบับและมีมูลค่าอยู่ที่ 5.36 พันล้านบาท ทำให้สัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมูลค่า 0.22 % จากเดือนก่อน 0.20 % ปริมาณใกล้เคียงกันที่ 0.8 % ทั้งเดือนนี้และเดือนก่อนหน้า

สำหรับเช็คต่างจังหวัดมีปริมาณและมูลค่าลดลง 23.6 % และ 15.1 % จากระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้ในเดือนนี้มีปริมาณเช็คต่างจังหวัดทั้งสิ้น 9.30 แสนฉบับ คิดเป็นมูลค่า 2.74 แสนล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเช็คคืนรวมต่อเช็คเรียกเก็บรวมปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 % แต่มูลค่าลดลงเหลือ 1 % จากเดือนก่อน 2.4 % ส่วนเช็คเด้งมีปริมาณเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.08 หมื่นฉบับ แต่มูลค่ากลับลดลงอยู่ที่ 1.44 พันล้านบาท ทำให้สัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บในเขตภาคกลางมีมูลค่าสูงสุด 9.72 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 35.4 % ของยอดรวม รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ มีสัดส่วน 24.7 % ,22.2 % และ 17.7%

ด้านเช็คเรียกเก็บข้ามจังหวัดมีมูลค่าเพิ่มขึ้น  29.7 %  และ 52.1 % จากระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้เดือนนี้มีปริมาณทั้งสิ้น 8.60 แสนฉบับ คิดเป็นมูลค่า 7.67 มื่นล้านบาท ผลการเรียกเก็บเงินเช็คจาก 3 วันทำการ เหลือ 1 วันทำการทั่วประเทศในระบบ ICAS ทำให้สัดส่วนเช็คคืนรวมต่อเช็คเรียกเก็บรวมปริมาณเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.7 % แต่มูลค่าลดลงอยู่ที่ 3.1 % ส่วนเช็คเด้งมีปริมาณ 1.94 หมื่นฉบับ คิดเป็นมูลค่า 1.69 พันล้านบาท       ทำให้สัดส่วนเช็คเด้งต่อเช็คเรียกเก็บรวมปริมาณเพิ่มขึ้น 2.3 % จากเดือนก่อน 2.1 % และมูลค่าลดลงเหลือ 2.3 % จากเดือนก่อน 2.4 %

ที่มาของบทความ

(1241)

Comments are closed.