“โซเชียล บิสซิเนส” พลิกโฉมโมเดลการทำธุรกิจทั่วโลก

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เรากำลังอยู่ในยุคที่ “โซเชียลเน็ตเวิร์ค” หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เข้ามามีบทบาทสำคัญในระดับที่ลึกซึ้ง เพราะนอกจากจะช่วยเชื่อมโยงผู้คนในมุมต่างๆ ของโลกและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันในแบบเรียลไทม์แล้ว การเชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดนยังทำให้การใช้ชีวิตและมุมมองที่เรามีต่อสิ่ง ต่างๆ เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้เราใช้สมาร์ทโฟนและ mobile devices เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อตัวเราเข้ากับเครือข่ายสังคมต่างๆ ในทุกแง่มุม และหลายครั้งที่เราตัดสินใจผ่านการบอกต่อของเพื่อนก่อนที่เราจะซื้อของชิ้น นั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าของที่เราได้จ่ายเงินซื้อไปนั้นคุ้มค่าเงิน ของเราทุกบาททุกสตางค์จริงๆ

ปัจจุบันเราสามารถพบเห็นกลุ่ม Social Showroomer ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คในการค้นหา เปรียบเทียบราคา และอ่านรีวิวสินค้าต่างๆ ก่อนไปชมสินค้าจริงที่ร้าน แม้ขณะที่อยู่ที่ร้านก็ยังมิวายจะหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาหาข้อมูลผลิตภัณฑ์และ ราคาเพื่อเปรียบเทียบ จนเมื่อสัมผัสและทราบข้อมูลผลิตภัณฑ์ครบถ้วนแล้วจึงกลับมาสั่งซื้อสินค้าทาง ช่องทางออนไลน์แทนที่จะซื้อจากที่ร้าน และกลุ่ม Social Showroomer นี่เองก็ยังเป็นกลุ่มที่มักนำประสบการณ์ดีๆ เกี่ยวกับสินค้าและบริการไปบอกต่อ ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจต่างๆ

ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโซเชียลเน็ตเวิร์คก็ยังได้รับการพัฒนาเพื่อตอบ โจทย์การบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย ทั้งการเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน การสร้างความร่วมมือระหว่างพนักงานในองค์กรไม่ว่าจะอยู่แผนกหรือสำนักงาน สาขาใดทั่วโลกได้อย่างง่ายดายมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อดีต่อการกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าและช่วยให้ลูกค้ามี ประสบการณ์ที่ดีขึ้นต่อแบรนด์

นั่นคือ “โซเชียลเน็ตเวิร์ค”  กำลังสร้างปรากฏการณ์ใหม่ต่อแวดวงธุรกิจ  ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและเปลี่ยนโมเดลการทำธุรกิจทั่วโลก หรือที่เรียกว่า “โซเชียล บิสสิเนส”

“โซเชียล บิสสิเนส”  หรือการนำเทคโนโลยี “โซเชียลเน็ตเวิร์ค” มาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพธุรกิจกำลังได้รับความนิยมและทวีความ สำคัญมากขึ้นในมุมมองของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจทั่วโลก  โดยจากผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกของไอบีเอ็มในปี2555 (IBM 2012 Global CEO Study) พบว่า 16%  ของซีอีโอเลือกใช้โซเซียลเน็ตเวิร์ค เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและสานสัมพันธ์กับลูกค้า และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 57% ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า

ข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของ “โซเชียลเน็ตเวิร์ค” ที่เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจทั่วโลกอย่างหลีกไม่พ้น

สำหรับเทคโนโลยีที่จะมาช่วยตอบโจทย์ดังกล่าว ไอบีเอ็มในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี  มีโซลูชั่นที่ชื่อว่า IBM SmartCloud Connections  ช่วยเชื่อมโยงการทำงานของพนักงานจากแต่ละมุมโลกเข้าด้วยกัน  ทั้งในแง่การซิงค์และแชร์ไฟล์ ตลอดจนการเข้าถึงระบบ cloud ได้อย่างปลอดภัย  โดยทำงานได้ทั้งบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และเดสก์ท็อป  นำให้เกิดการแบ่งปันความรู้ ทักษะ และไอเดียในกลุ่มพนักงานด้วยกันเองผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คได้อย่างสะดวก ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการประสานงาน

รวมถึงเทคโนโลยี  Social Media Monitoring  เพื่อฟังความต้องการของลูกค้าบนโซเชียลมีเดีย โดยไม่ว่าเทรนด์หรือความเห็นเกี่ยวกับสินค้าและบริการ จะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อช่วยในการเข้าถึงความต้องการของผู้ บริโภคเป้าหมาย ก่อนจะนำไปช่วยพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการ และสร้างรูปแบบการสื่อสารให้ตรงใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นในแบบเรียลไทม์ ช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร

สำหรับองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการนำ “โซเชียล เน็ตเวิร์ค” มาเป็นเครื่องมือเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่จะน่าสนใจ  เช่นกรณีของ “Berlitz” โรงเรียนสอนภาษาเก่าแก่ของไอร์แลนด์ที่มีพนักงานกว่า 12,000 คน และมีศูนย์การเรียนการสอนกว่า 550 แห่งทั่วโลก

“Berlitz” ให้ไอบีเอ็มช่วยสร้างเครือข่าย intranet ที่มีชื่อว่า SPACE (Smart Place to Accelerate Community of Excellence) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมและเชื่อมโยงการทำงานของพนักงานทั่วโลกเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบและเนื้อหาการสอนจากศูนย์ที่ประสบความ สำเร็จ ลดความเสี่ยงจากการลองผิดลองถูกที่อาจนำไปสู่ความผิดพลาด และนำไปสู่การพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของ คนในแต่ละประเทศมากยิ่งขึ้น

หัวใจสำคัญของตัวอย่างนี้ คือการที่โซเชียลเน็ตเวิร์คช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูล มุมมอง และประสบการณ์ทำงานของพนักงานในแต่ละมุมโลกเป็นไปได้ และเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพจนสามารถสร้างศูนย์รวมองค์ความรู้มหาศาลใน องค์กร เก็บไว้ใช้ประโยชน์ในภายภาคหน้าได้อย่างไม่รู้จบ

ส่วนกรณี “Signature Mortgage” สถาบันการเงินที่ให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่แม้จะมีความสามารถการแข่งขันในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ต่างๆ แต่กลับมีปัญหาความล่าช้าด้านกระบวนการทำงานและขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติสิน เชื่อ ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 7-10 วัน

“Signature Mortgage” ร่วมกับไอบีเอ็มในการพัฒนาระบบ e-SignLive โดยที่เทคโนโลยี SmartCloud จะนำผู้กู้และธนาคารเข้ามาสู่ห้อง e-SignRoom ที่มีเอกสารทางการกู้ยืมให้ลูกค้าได้เซ็นชื่อ ลงชื่อย่อ และยอมรับเงื่อนไขต่างๆ อย่างง่ายดายเพียงแค่กดปุ่ม Click to sign Click to initial และ Click to accept เท่านั้น กระบวนการเหล่านี้ไม่ต้องอาศัยการดาวน์โหลดซอฟท์แวร์หรือปลั๊กอินใดๆ  ทำให้การอนุมัติสินเชื่อเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและสามารถจบลงได้ในเพียงไม่ กี่นาทีและไม่กี่คลิก  สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรที่สูงขึ้นจากลูกค้าที่มาขอรับ บริการเพิ่มขึ้นเพราะการแนะนำของลูกค้าเดิมนั่นเอง

นอกจากเทคโนโลยีโซเชียลบิสสิเนสจะช่วยให้การทำธุรกิจง่ายขึ้นแล้ว การนำเทคโนโลยี cloud มาใช้ก็ช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการได้แบบเรียลไทม์และสามารถขยายธุรกิจ ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ด้วยบริษัทรถร่วมกว่า 200 บริษัทและจำนวนผู้ใช้บริการที่มากถึง 9 ล้านคนต่อวัน RioCard บริษัทที่บริหารระบบทางด้าน e-payment ของบริษัทรถเมล์ในเมือง Rio de Janeiro จึงมีความคิดที่จะประยุกต์ข้อมูลทางการเงินเหล่านี้มาเป็นข้อมูลทางด้านการ จราจร โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการรถเมล์สามารถแบ่งปันข้อมูลสภาพการจราจรหรือสาย รถเมล์ที่วิ่งผ่านได้แบบเรียลไทม์ผ่าน web app ที่ใช้เทคโนโลยี SmartCloud ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับข้อมูลทางเลือกในการเดินทางเพื่อไปถึงจุดหมายได้ อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น

ไม่ใช่แค่เพียงลูกค้าของ RioCard เท่านั้นที่ได้รับความสะดวก แต่เทคโนโลยี Cloud ที่เชื่อมต่อทุกฝ่ายเข้าด้วยกันผ่านแพลตฟอร์มที่เหมือนกัน ยังช่วยลดความยุ่งยากในการเข้าถึงและดึงข้อมูล ช่วยให้บริษัทรถเมล์สามารถทราบรายได้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนิน งานในอนาคตได้ในเวลาที่เร็วขึ้น

จากตัวอย่างต่างๆ คงไม่ผิดถ้าจะกล่าวว่า “โซเชียลเน็ตเวิร์ค” กำลังกลายเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญของการดำเนินธุรกิจ จนอาจเรียกได้ว่ากำลังเป็นสายการผลิตแบบใหม่ (New Production Line) ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพขององค์กรที่รู้จักใช้ประโยชน์ และนำให้ธุรกิจก้าวสู่เป้าหมายได้เร็วกว่าที่คิด

ที่มาของบทความ

(1085)

Comments are closed.